Last updated: 19 ก.พ. 2567 | 3061 จำนวนผู้เข้าชม |
โดยทั่วไปแล้ว เด็กแรกเกิดมักมีแนวโน้มที่ร่างกายจะสูญเสียความร้อนได้ง่าย อันเนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิภายนอกที่กำหนดไม่ได้ ผนวกกับความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิภายในของเด็กเอง สาเหตุนี้เองจึงทำให้เด็กน้อยอาจเกิด ‘ภาวะตัวเย็นเกิน’ ซึ่งพบเจอได้แทบทุกช่วงอายุของการเป็นเด็กเลยทีเดียวนะคะ
คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจจะเคยเจอกับสถานการณ์ที่อยู่ ๆ เจ้าตัวเล็กก็ตัวเย็นจนผิดปกติ แบบนี้เรามาทำความรู้จักกับภาวะตัวเย็นเกิน หรือ ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ (Hypothermia) กันก่อนดีกว่าค่ะ ภาวะนี้เป็นภาวะที่อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส มักจะเกิดกับเด็กแรกเกิด เด็กเล็ก และเด็กโต มากที่สุดตามลำดับ ซึ่งสำหรับเด็ก ๆ แล้ว ภาวะตัวเย็นเกิน เป็นเหตุให้เกิดอาการหนาวสั่น และทำให้อวัยวะในร่างกายไม่สามารถทำหน้าที่เหมือนที่เคยได้ หากไม่มีการป้องกันที่ดีพอ จะทำให้พวกเขามีอาการเจ็บป่วยขั้นรุนแรง หรือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้
สาเหตุของภาวะตัวเย็นเกิน
ปัจจัยเสี่ยงหลักของการเกิดภาวะตัวเย็นเกิน คือ การที่ร่างกายไม่สามารถรักษาอุณหภูมิแกนกลางระหว่าง 35.4-37.4 องศาเซลเซียสไว้ได้ (และมีแนวโน้มต่ำลงกว่าเกณฑ์ข้างต้น) หรือเข้าใจง่าย ๆ คือ ร่างกายสูญเสียความร้อน และสัมผัสกับสภาพอากาศหนาวเย็นเกินไปในช่วงเวลาหนึ่ง จนทำให้ร่างกายสูญเสียความร้อน และกลายเป็นภาวะตัวเย็นเกิน แต่นอกจากนี้แล้ว ยังมีปัจจัยในด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น
◾ ร่างกายของเด็กที่ยังไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้อย่างมีประสิทธิภาพ
◾ การแต่งตัวที่ไม่เหมาะสมในช่วงอากาศหนาว
◾ อุณหภูมิภายในห้องที่ต่ำเกินไป
◾ การแช่ / เล่นอยู่ในน้ำเย็นเป็นเวลานาน
ยิ่งไปกว่านั้น สำหรับเด็กน้อยที่คลอดก่อนกำหนด หรือมีน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐาน ก็จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นภาวะตัวเย็นเกินมากกว่าเด็กทั่วไปในช่วงวัยเดียวกัน
อาการที่บ่งบอกถึงภาวะตัวเย็นเกิน
แน่นอนว่าเด็กเล็กจะยังสื่อสารความรู้สึกให้พ่อแม่รู้ว่าเขาไม่สบายได้ยังไม่สมบูรณ์มากนั้น ฉะนั้น หน้าที่ของเราก็ต้องใส่ใจ เตรียมพร้อมป้องกัน และสังเกตอาการที่ผิดปกติไปจากเดิมให้ได้
เมื่อใดก็ตามที่เราเริ่มจะสงสัยว่าลูกมีภาวะตัวเย็นเกินหรือไม่นั้น แนะนำให้ลองสัมผัสอวัยวะบริเวณส่วนเท้า มือ จมูก และใบหู เพราะเป็นส่วนที่ไวต่ออุณหภูมิต่ำมากที่สุด หากบริเวณเหล่านี้ของลูกเย็นเกินไปเป็นเวลานาน ก็แปลว่าพวกเขามีโอกาสที่จะเป็นภาวะตัวเย็นเกิน โดยอาการจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับตามอุณหภูมิในร่างกาย ได้แก่
◾ อุณหภูมิ 32 – 35 องศาเซลเซียส เป็นอาการที่ไม่รุนแรง เด็กจะมีอาการสั่น ขนลุก ตัวซีดเล็กน้อย
◾ อุณหภูมิ 28 – 32 องศาเซลเซียส เป็นอาการที่ปานกลาง เด็กจะเริ่มพูดไม่ชัด ง่วงนอน มึนหัว
◾ อุณหภูมิต่ำกว่า 28 องศาเซลเซียส เป็นอาการที่รุนแรง เด็กจะหายใจช้าลง หัวใจเต้นช้าลง
หากลูกเริ่มมีไข้และตรวจเช็กอุณหภูมิแล้วพบว่าต่ำกว่ามาตรฐาน 35 องศาเซลเซียส ก็ควรที่จะพาไปพบแพทย์ทันที ไม่ควรปล่อยให้อุณหภูมิต่ำลงถึง 28 แล้วค่อยพบแพทย์นะคะ เพราะร่างกายของเด็กเล็กนั้นยังบอบบางอย่างมาก อาจเกิดอันตรายที่คาดไม่ถึงได้
วิธีป้องกันภาวะตัวเย็นเกิน
◾ หลังจากอาบน้ำเสร็จ ควรรีบเช็ดตัวและศีรษะลูกให้แห้งทันที
◾ ปรับอุณหภูมิในห้องให้อบอุ่นพอดี หรือประมาณ 26 องศาเซลเซียส เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อน
◾ ดื่มน้ำอุณหภูมิห้องแทนน้ำเย็น หลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำแข็ง
◾ ไม่ปล่อยให้เด็กทารกนอนเล่นบนพื้นบ้าน โดยปราศจากผ้าปูรอง
◾ หาผ้าห่อตัว หรือ ผ้าห่มเด็กอุ่น ๆ คลุมตัวลูกน้อย หากอยู่ในพื้นที่หนาวเย็น
เพื่อป้องกันภาวะตัวเย็นเกินนี้ ควรมีผ้าห่มติดตัวรอง หรือห่มตัวลูกน้อยไว้ เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนและสัมผัสกับอากาศหนาว โดยวิธีนี้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมอุณหภูมิร่างกายของเด็ก ดังนั้น ผ้าห่มเด็กจึงเปรียบเสมือนยาป้องกันที่ดี หากคุณแม่ไม่แน่ใจว่า ผ้าห่มประเภทไหนที่เหมาะกับเด็กน้อย และสามารถปกป้องลูกน้อยจากอากาศได้
วันนี้ PAPA Baby มีมาแนะนำค่ะ นั่นคือ ผ้าห่มเด็กจากทางร้านนั่นเอง
10 พ.ค. 2567
25 มี.ค. 2567
23 พ.ค. 2567