อันตรายจากฝุ่นตัวร้าย กับภัยสุขภาพของลูกน้อย " PM 2.5 "

Last updated: 27 ก.พ. 2567  |  250 จำนวนผู้เข้าชม  | 

อันตรายจากฝุ่นตัวร้าย กับภัยสุขภาพของลูกน้อย " PM 2.5 "

ช่วงนี้คุณแม่เริ่มกลับมากังวลกับฝุ่น PM 2.5 ที่กลับมาหนักขึ้นอีกครั้ง กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ชี้มลพิษทางอากาศที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะเด็กเล็ก ที่อายุต่ำกว่า 5 ปี ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจะได้รับผลกระทบมากเป็นพิเศษ


ฝุ่น PM2.5 เกิดจากอะไร ?

ฝุ่นละออง PM 2.5 คือฝุ่นขนาดเล็ก ที่มีอนุภาคเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 ไมครอน มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมมนุษย์ถึง 25 เท่า สามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย  เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ควันรถยนต์ ควันจากการเผาไหม้ในที่โล่งแจ้ง การก่อสร้าง หรือควันที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรม


ฝุ่น PM2.5 ส่งผลเสียต่อเด็กอย่างไร ?

ความรุนแรงของฝุ่น PM 2.5 นี้ จะเป็นอันตรายต่อเด็กได้ง่าย เพราะ ปกติแล้วเด็กจะมีอัตราการหายใจถี่กว่าผู้ใหญ่ ทำให้สูดฝุ่นละออง หรือ มลพิษไปได้เยอะกว่า ยิ่งอายุน้อยเท่าไหร่ อัตราการหายใจต่อนาทีก็จะมากขึ้น

  • มีอาการแสบจมูก น้ำมูกไหล หายใจไม่สะดวก และเจ็บคอ เนื่องจากสูดเอาฝุ่นเข้าสู่ร่างกาย

  • หากมีการสะสมฝุ่นในระยะยาว ฝุ่นละอองเข้าไปทำงานเซลล์สมอง ส่งผลต่อพัฒนาการ และ กระบวนการการเรียนรู้ของเด็กให้ช้าลง มีปัญหาด้านการพูดและฟัง มีภาวะสมาธิสั้น และมีภาวะออทิซึม

  • มีผดผื่นบริเวณที่ร่างกายสัมผัสฝุ่น อาการระคายเคืองผิว

  • ฝุ่น PM2.5 มีขนาดเล็กจนสามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ และ ภาวะหลอดเลือดหดตัวได้


วิธีป้องกันลูกน้อยจากฝุ่น PM2.5

  • หลีกเลี่ยงพาลูกน้อยทำกิจกรรมกลางแจ้ง

  • หากมีความจำเป็นต้องออกนอกบ้าน สวมหน้ากากอนามันทุกครั้งที่ออกจากบ้าน

  • ปิดประตูหน้าต่างเพื่อกันฝุ่นละอองเข้าบ้าน

  • ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเป็นประจำ จะช่วยให้หายใจโล่งขึ้น

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

  • ทำความสะอาดบ้านบ่อยๆ และ เช็ดเฟอร์นิเจอร์ด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆเป็นประจำ เพื่อลดการสะสมของฝุ่นละอองภายในบ้าน

  • หากลูกมีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด ภูมิแพ้ โรคหลอดลมอักเสบ หรือโรคเกี่ยวกับระบบหายใจ ควรดูแลอย่างใกล้ชิด และหากลูกน้อยมีอาการผิดปกติ หายใจไม่ออก หายใจถี่ ไอบ่อย มีเสมหะ แน่นหน้าอก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

    หรืออีกวีธีหนึ่ง การล้างมือบ่อยๆ ก่อนทานอาหาร หรือ หลังจากหยิบจับสิ่งของต่างๆ ก็ช่วยป้องกันลูกน้อยจากฝุ่น PM 2.5 ได้นะคะ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้